การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในการสอนของครู
ครูส่วนใหญ่หลังจากที่ได้รับการอบรมจะมีการประชุมเพื่อเสนอปัญหาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ในการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เช่น ในการสร้างสื่อบทเรียนสำเร็จรูป
การทำพาวเวอร์พ้อย (power point) การทำบทเรียน
และหนังสือเรียน (E -learning E – book) โดยมอบหมายให้ผู้มีความรู้ความสามารถ
ช่วยแนะนำผู้ที่ยังขาดทักษะการใช้สื่อสาร (ICT) โดยมีการให้สังเกตผู้มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(ICT) ที่สูงกว่ารับฟังข้อบกพร่องของการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(ICT) ซักถามข้อสงสัยในการปฏิบัติ
พร้อมให้ผู้ฟังบันทึกขั้นตอนการปฏิบัติตามความเข้าใจ
เพื่อจะได้นำความรู้ไปเชื่อมโยงในการปฏิบัติจริงและจะได้นำความรู้ไปจัดการเรียนรู้
ให้นักเรียนเกิดทักษะในการค้นคว้าและเรียนรู้ต่อไปภายใต้การนิเทศ
กำกับติดตามของคณะกรรมการนิเทศในสถานศึกษา
ซึ่งส่งผลให้คุณภาพการเรียนรู้และมาตรฐานการศึกษาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
สูงขึ้นด้วยสอดคล้องกับ ศศิกาญจน์ รัตนศรี(2543, หน้า 26)
ที่พบว่าการให้ครูพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จัดการศึกษาให้สำเร็จจะต้องให้คำปรึกษา มีการปรึกษาหารือ
ไปศึกษานอกสถานที่ ให้ปฏิบัติจริงการประชุมร่วมกัน การให้ความรู้เสริม
การมีส่วนร่วมในการวางแผนการประชุมย่อย การศึกษาด้วยตนเอง การปฏิบัติแบบร่วมมือ
การประเมินผลตนเอง การจัดแสดงผลงาน
การรับรางวัลแห่งความสำเร็จและสอดคล้องกับเยาวลักษณ์ พิเชษฐโสภณ (2550, หน้า 45) ที่พบว่า
บทเรียนสำเร็จรูปเป็นบทเรียนที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมสามารถนำไปสอนร่วมกับกิจกรรมการเรียนการสอนอื่นๆ
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีและยังสอดคล้องกับวิภาดา
นิธิปรีชานนท์ ซึ่งพบว่าการเรียนรู้โดยการใช้ ICT สามารถเรียนรู้ไปพร้อมกัน
เป็นการเรียนรู้และทำงานแบบเป็นทีม ผลัดกันทำหน้าที่ตามความถนัด
และความสนใจของแต่ละคน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามศักยภาพ
และความถนัดของผู้เรียนแต่ละคนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา เช่น สืบค้นข้อมูลต่างๆ
การสร้างสรรค์ผลงานด้วย ICT และนำเสนอผลงานของตนเองผลที่ได้รับคือ
ความสามัคคี ความรักใคร่ปรองดอง และการยอมรับซึ่งกันและกัน
การฝึกฝนให้เป็นคนใฝ่รู้
เพื่อศึกษาและทำให้สำเร็จตามเงื่อนไขทำให้ครูและผู้เรียนค้นพบตนเองว่ามีความสามารถด้าน
ICT เป็นรูปแบบการบริหารจัดการที่มีคุณค่าและประโยชน์มหาศาล เช่น
ช่วยประหยัดงบประมาณกระดาษ ช่วยลดคนทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของเนื้องาน
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1) การจัดอบรมครูในการสร้างสื่อ
ใช้สื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เพื่อใช้จัดการเรียนการสอน
และสอดคล้องกับงานวิจัยของ Lissar, M. (2555) ศึกษา
การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ในรูปแบบของการอบรมด้านเทคโนโลยีที่มีความสำคัญในการสร้างสื่อการสอนผ่านเว็บ
งานวิจัยของ พิสิฐ เมธาภัทร (2555) ศึกษา
การพัฒนาและฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการสอน
เพื่อนำมาถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียนและงานวิจัยของ วรางคณา โตโพธิ์ไทย (2556)
ศึกษา สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน
เพื่อให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร
การพัฒนาครูซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญทางการศึกษาให้มีความรู้ด้านการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์
จึงส่งเสริมให้จัดการอบรมเรื่องการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยให้ครูมีความรู้เกี่ยวกับการออกแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน
2) มีการส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน
และพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
สอดคล้องกับงานวิจัยของ Magen, N. (2556) ศึกษา ความแตกต่างในระดับของความรู้ของการใช้
คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน การสร้างสื่อและกระบวนการเรียนรู้
การประเมินและทัศนคติของครูผู้สอน
เป็นสิ่งที่จำเป็นในการส่งเสริมการดำเนินงานของการเรียนการสอนที่ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมที่เป็นนวัตกรรม
และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ (2555) ศึกษา
การส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ ของครูและบุคลากรทางการศึกษา
เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น