วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

งานวิจัยศึกษาปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน


หัวข้อวิจัย   การศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอนระดับ 
                    อนุบาลในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร 

ผู้ดำเนินการวิจัย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์สายสุดา ปั้นตระกูล 
                                นางกาญจนา เผือกคง 
                                ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริศนา มัชฌิมา 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการ
สอนระดับอนุบาลในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และประเมินสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ในการเรียนการสอนระดับอนุบาลในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างใน
การศึกษาครั้งนี้ คือ ครูปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 2,652 คน ทำการสุ่ม
ตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 335 คน จากนั้นใช้วิธีการ
สุ่มแบบจัดชั้นตามสัดส่วนของประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีคำถามแบบ
ปลายปิด แบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบปลายเปิด และมีการจัดสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ใน
งานวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังนี้

1. สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอนระดับอนุบาลในโรงเรียนสังกัด
กรุงเทพมหานคร พบว่า หลักในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน ส่วน
ใหญ่เลือกตามเนื้อหาของหน่วยการเรียนการสอน ครูจัดกิจกรรมที่คำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสมกับ
วัยและสามารถยืดหยุ่นได้ตามความสนใจของเด็ก โดยจัดเตรียมและคัดเลือกสื่อและอุปกรณ์
เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีในโรงเรียน ประเภทเครื่องเล่นซีดีหรือดีวีดี และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศในการเรียนการสอนระดับอนุบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการ
ของเด็ก และการสร้างสื่อการเรียนการสอน

2. การประเมินสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอนระดับอนุบาลใน
โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ใน
ระดับปานกลางทุกด้าน คือ ด้านสภาพการใช้ พบว่าคือ ครูสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการสอนได้
ทุกวิชา เด็กมีโอกาสได้ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อการเรียนรู้ และ ตำแหน่งในการจัดวาง
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เทคโนโลยีมีความเหมาะสม ด้านปัญหาในการจัดการเรียนการสอน พบว่า
งบประมาณไม่เพียงพอในการจัดหาสื่อ/ซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ส่งผลให้อุปกรณ์
เทคโนโลยีสารสนเทศ/ฮาร์ดแวร์ไม่เพียงพอ และ ขาดความความเข้าใจในการจัดเตรียม คัดเลือกสื่อ
และอุปกรณ์

จริยธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ






  จริยธรรม   หมายถึง  " หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ "
       ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย อย่างเช่น กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทำงานของพนักงาน เป็นต้น ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำราญ เช่น การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตการใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้วจะกล่าวถึงใน4ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
          1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
          2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
          3 ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
          4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)

1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
          ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้
        1.การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
   2.การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
          3.การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
         4.การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์

2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
          ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ เช่น ในกรณีที่องค์การให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วยตนเอง หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ อีกประเด็นหนึ่ง คือ จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ และผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดข้อผิดพลาด
          ดังนั้น ในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้ เช่น ผู้สอนสามารถดูคะแนนของนักศึกษาในความรับผิดชอบ หรือที่สอนเพื่อตรวจสอบว่าคะแนนที่ป้อนไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง

3.ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
          สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น
          ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าท่านได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น สำหรับท่านเองหลังจากที่ท่านเปิดกล่องหรือบรรจุภัณฑ์แล้ว หมายถึงว่าท่านได้ยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในการใช้สินค้านั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัท บางโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงครั้งเดียว หรือไม่อนุญาตให้ใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ ท่านเป็นเจ้าของ และไม่มีผู้อื่นใช้ก็ตาม ในขณะที่บางบริษัทอนุญาตให้ใช้โปรแกรมนั้นได้หลายๆ เครื่อง ตราบใดที่ท่านยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา การคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการคัดลอกนั้น เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธ์ในระดับใด

4.การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
          ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไขหรือปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกันให้เป็นระเบียบ หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นดังที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น

บัญญัติ 10 ประการ
          เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจำเสมอ
          1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
          2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
          3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
          4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
          5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
          6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
          7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
          8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
          9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
          10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท
       

ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครู และแนวทางการแก้ไข

      


        การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในการสอนของครู ครูส่วนใหญ่หลังจากที่ได้รับการอบรมจะมีการประชุมเพื่อเสนอปัญหาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เช่น ในการสร้างสื่อบทเรียนสำเร็จรูป การทำพาวเวอร์พ้อย (power point) การทำบทเรียน และหนังสือเรียน (E -learning E – book) โดยมอบหมายให้ผู้มีความรู้ความสามารถ ช่วยแนะนำผู้ที่ยังขาดทักษะการใช้สื่อสาร (ICT) โดยมีการให้สังเกตผู้มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่สูงกว่ารับฟังข้อบกพร่องของการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ซักถามข้อสงสัยในการปฏิบัติ พร้อมให้ผู้ฟังบันทึกขั้นตอนการปฏิบัติตามความเข้าใจ เพื่อจะได้นำความรู้ไปเชื่อมโยงในการปฏิบัติจริงและจะได้นำความรู้ไปจัดการเรียนรู้ ให้นักเรียนเกิดทักษะในการค้นคว้าและเรียนรู้ต่อไปภายใต้การนิเทศ กำกับติดตามของคณะกรรมการนิเทศในสถานศึกษา ซึ่งส่งผลให้คุณภาพการเรียนรู้และมาตรฐานการศึกษาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ สูงขึ้นด้วยสอดคล้องกับ ศศิกาญจน์ รัตนศรี(2543, หน้า 26) ที่พบว่าการให้ครูพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จัดการศึกษาให้สำเร็จจะต้องให้คำปรึกษา มีการปรึกษาหารือ ไปศึกษานอกสถานที่ ให้ปฏิบัติจริงการประชุมร่วมกัน การให้ความรู้เสริม การมีส่วนร่วมในการวางแผนการประชุมย่อย การศึกษาด้วยตนเอง การปฏิบัติแบบร่วมมือ การประเมินผลตนเอง การจัดแสดงผลงาน การรับรางวัลแห่งความสำเร็จและสอดคล้องกับเยาวลักษณ์ พิเชษฐโสภณ (2550, หน้า 45) ที่พบว่า บทเรียนสำเร็จรูปเป็นบทเรียนที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมสามารถนำไปสอนร่วมกับกิจกรรมการเรียนการสอนอื่นๆ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีและยังสอดคล้องกับวิภาดา นิธิปรีชานนท์ ซึ่งพบว่าการเรียนรู้โดยการใช้ ICT สามารถเรียนรู้ไปพร้อมกัน เป็นการเรียนรู้และทำงานแบบเป็นทีม ผลัดกันทำหน้าที่ตามความถนัด และความสนใจของแต่ละคน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามศักยภาพ และความถนัดของผู้เรียนแต่ละคนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา เช่น สืบค้นข้อมูลต่างๆ การสร้างสรรค์ผลงานด้วย ICT และนำเสนอผลงานของตนเองผลที่ได้รับคือ ความสามัคคี ความรักใคร่ปรองดอง และการยอมรับซึ่งกันและกัน การฝึกฝนให้เป็นคนใฝ่รู้ เพื่อศึกษาและทำให้สำเร็จตามเงื่อนไขทำให้ครูและผู้เรียนค้นพบตนเองว่ามีความสามารถด้าน ICT เป็นรูปแบบการบริหารจัดการที่มีคุณค่าและประโยชน์มหาศาล เช่น ช่วยประหยัดงบประมาณกระดาษ ช่วยลดคนทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของเนื้องาน


แนวทางการแก้ไขปัญหา

1) การจัดอบรมครูในการสร้างสื่อ ใช้สื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เพื่อใช้จัดการเรียนการสอน และสอดคล้องกับงานวิจัยของ Lissar, M. (2555) ศึกษา การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ในรูปแบบของการอบรมด้านเทคโนโลยีที่มีความสำคัญในการสร้างสื่อการสอนผ่านเว็บ งานวิจัยของ พิสิฐ เมธาภัทร (2555) ศึกษา การพัฒนาและฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการสอน เพื่อนำมาถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียนและงานวิจัยของ วรางคณา โตโพธิ์ไทย (2556) ศึกษา สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน เพื่อให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร การพัฒนาครูซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญทางการศึกษาให้มีความรู้ด้านการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จึงส่งเสริมให้จัดการอบรมเรื่องการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยให้ครูมีความรู้เกี่ยวกับการออกแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน


2) มีการส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน และพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน สอดคล้องกับงานวิจัยของ Magen, N. (2556) ศึกษา ความแตกต่างในระดับของความรู้ของการใช้ คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน การสร้างสื่อและกระบวนการเรียนรู้ การประเมินและทัศนคติของครูผู้สอน เป็นสิ่งที่จำเป็นในการส่งเสริมการดำเนินงานของการเรียนการสอนที่ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมที่เป็นนวัตกรรม และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ (2555) ศึกษา การส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ ของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน